วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ ( จังหวัดอุบลราชธานี )

              ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรานั้นมักขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้าง ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการ   “ภูมิปัญญา”  หรือ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไปในสังคม และในวงการต่างๆ  ทั้งของรัฐ  องค์กรพัฒนา  นักวิชาการ  และสื่อมวลชน  นอกจากนั้นยังเป็นคำที่คาบเกี่ยวกับคำอื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง  เช่น  ความรู้ท้องถิ่น  ความรู้ของชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน  ความรู้พื้นบ้าน  คำเหล่านี้อาจจะเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงเวลาประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมา  และได้รับแรงส่งเสริมผลักดันจากกระแสสังคมที่เป็นปฏิกริยาต่อต้านโลกาภิวัตน์  เกิดการหันมาเน้นความสำคัญของท้องถิ่นและยกย่องความรู้และวิถีชิวีตแบบท้องถิ่น  มองเห็นความงดงามและลุ่มลึกของวิถีชีวิตของคนธรรมดาสามัญ  ชาวบ้านและชาวป่าชาวดอยที่ห่างไกลความก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยี     

          วิทยาการ คือ   สิงที่เกิดขึ้นจากความสาสมารถของมนุษย์ในการคิดค้นและแสวงหา   เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต   ทำให้สังคมมีความมั่นคงปลอดภัย   และช่วยให้สังคมมีความกินดีอยู่ดีขึ้น   ดังนั้น วิทยาการจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบหนึ่ง

การประกอบอาชีพภายในท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี

เกษตรกรรม

           คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ  ประสบการณ์  และมีผลงานด้านการทำไร่  ทำนา  เลี้ยงสัตว์  ประมง  ทำไร่นาสวนผสม  ฯลฯ  โดดเด่น  เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง  มีรายได้จากผลผลิตด้านนี้  มีแนวคิดที่ดี  แปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์และช่วยพัฒนา  อาชีพด้านนี้ได้อย่างน่าสนใจ เช่น  เป็นผู้คิดริเริ่มการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  เกษตรแบบพอเพียง  เกษตรที่เอื้อประโยชน์ต่อ ชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ฯลฯ

เกษตรผสมผสาน  ที่มา  http://sunisa.wikispaces.com/file/view/sustain.jpg

 ความหมายของเกษตรกรรม
          เกษตรกรรม  ( Agriculture)  หมายถึง  กระบวนการผลิตอาหาร  เส้นใย   เชื้อเพลิง  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ  โดยวิธีการเพาะปลูกพืช มีชื่อเรียกเฉพาะว่า  "กสิกรรม"   และวิธีการเลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์บก   สัตว์น้ำ   อย่างเป็นระบบผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเรียกว่า เกษตรกร

ประเภทของเกษตรกรรม
เกษตรกรรมแบ่งออกได้  4  ประเภท คือ
1.  กสิกรรม   หมายถึง  การเพาะปลูกพืช  เช่น  การทำนา  การทำสวน  การทำไร่  เป็นต้น
การทำกสิกรรม ที่มา  http://www.munjeed.com/image_news/2011-03-19/Thairath_193255451533.jpg

 2. ปศุสัตว์   หมายถึง  การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก  เช่น  เลี้ยงวัว  เลี้ยงหมู  หรือ
  เลี้ยงสัตว์จำพวก  สัตว์ปีก  เป็นต้น
ปศุสัตว์ ที่มา  http://www.thaibiogas.com/administrator/image/upimages/1345018483.jpg

3.  การประมง  หมายถึง  การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ  เช่น  การเลี้ยงสัตว์น้ำ  การจับสัตว์น้ำ  เป็นต้น


การประมง ที่มา  http://fishco.fisheries.go.th/fisheconomic/images/989.jpg

  4. ด้านป่าไม้   หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ  การนำผลผลิตจากป่า 

ป่าไม้ ที่มา  http://lampang.dnp.go.th/Animal/Animal1/link/Datawab/imageweb/dip.jpg

ความหมายเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม
            ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน  โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้  ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง  ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบไร่นาสวนผสม  ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง  2  คำ  ดังต่อไปนี้

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System)  เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง  ๆ  ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล  ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช  สัตว์  และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช  พืชกับสัตว์  หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้  ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้  จะต้องมีการวางรูปแบบ  และดำเนินการ  โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม  มีการใช้แรงงาน  เงินทุน  ที่ดิน  ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน  เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด  ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว  เช่น  การเลี้ยงไก่  หรือสุกรบนบ่อปลา  การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้  เป็นต้น

ระบบเกษตรผสมผสาน

ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System)  เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย  ๆ  กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา  ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น  โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต  และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก  กิจกรรมการผลิตบ้าง  แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ  เป็นไปเอง”  มิใช่เกิดจาก  ความรู้ ความเข้าใจ”  อย่างไร  ก็ตามไร่นาสวนผสม  สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้
           ไร่นาสวนผสม
ประโยชน์ที่ได้รับของเกษตรผสมผสาน
ระบบเกษตรผสมผสานเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่ เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตร แบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ
2. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต
3. ลดความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืช
4. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี
5. ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์ (Species Diversity)
6. ช่วยกระจายการใช้แรงงาน
7. ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน (Recycling) ของกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับไร่นา
8. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน
9. ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

สรุป
การทำการเกษตรผสมผสานจะเป็นระบบการเกษตรที่ให้ผลผลิตกับ  เกษตรกรทั้งในด้านการมีอาหารเพียงพอ  แก่การบริโภค  การเพิ่มการมีงาน ทำการมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากการดำเนินกิจกรรมกระแสหลัก ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานสามารถใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพและสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้เสื่อมโทรมรักษา สมดุลย์ของธรรมชาติไว้  แต่อย่างไรก็ดีระบบการทำการเกษตรผสมผสานในแต่ละสภาพของท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกันในด้านกิจกรรมที่จะมาดำเนินการ  ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดการที่จะให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ  สังคม ของเกษตรกรแต่ละราย   ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน

อ้างอิง
  • เกษตรผสมผสาน.  จาก  นางสมแพง     ศยามล  สัมภาษณ์เมื่อ  24  พฤศจิกายน  2556  เวลา  18.39 น.
  • เกษตรกรรม จาก http://www.thaigoodview.com/node/53460 เข้าถึง ศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556
  • การทำเกษตรผสมผสาน จาก http://5401029.blogspot.com/p/blog-page_31.html เข้าถึง ศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556
  • ความหมายของเกษตรกรรม จาก http://tkagri.doae.go.th/temp.php?gpg=title07  เข้าถึง ศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556
  • ความหมายเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม จาก http://school.obec.go.th/prbr/wisdom/mean.htm  เข้าถึง ศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556