เครื่องปั้นดินเผา
คือ ภาชนะชุดแรกๆของมนุษย์นั้นคือการนำ ดิน มาขึ้นรูปเป็นภาชนะต่างๆแล้วนำไปตากแห้ง
คุณสมบัติของดิน โดยเฉพาะดินเหนียวสามารถอุ้มน้ำได้ดี
และเมื่อผสมเข้ากับน้ำแล้วจะทำให้ดินมีความเหนียวและสามารถที่จะปั้นหรือขึ้นรูปสามมิติ โดยไม่ต้องเพิ่มเติมวัสดุอื่นอีก
คำว่า"เครื่องปั้นดินเผา"เป็นคำนามที่มีความหมายที่สื่อให้เข้าใจได้ในตัวของมันเอง
(เอาดินมาปั้นแล้วก็เผา)
เมื่อนำดินที่ขึ้นรูปแล้วมาให้ความร้อน ดินซึ่งประกอบด้วยผลึกในตระกูลของ
"alumino
silicate" จะมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐานทางเคมี สารประกอบอัลคาไลน์(alkaline) เป็นสารชนิดหนึ่งที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีกับผลึกดินที่อุณหภูมิสูง
พลังงานความร้อนนี้สามารถขับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลึกดิน
โดยจะทำให้เกิดสารประกอบลักษณะเป็น"แก้ว"
สารประกอบนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวประสานอนุภาคดินที่เหลือ
ซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง เข้าด้วยกัน ทำให้เนื้อวัสดุหลังการเผา
(อย่างน้อยประมาณ 800 องศาเซลเซียส แล้วแต่คุณสมบัติทางเคมี)
มีความคงทนแข็งแรงขึ้น สามารถคงรูปไว้ใช้เป็นภาชนะสังเคราะห์ชนิดแรกของมนุษย์
ขั้นตอนการผลิต
การเตรียมดิน
- การหมักดิน
เมื่อขุดดินมาจากแหล่งดินแล้วจะนำดินมาผสมกันในอัตราส่วน ดินเหนียวมาก 2 ส่วน ดินเหนียวน้อย 1 ส่วน แยกเศษไม้
เศษหินออกรดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไปหมักในหลุมขนาด 1×1 เมตร ลึก 20
ซม.โดยใช้เวลาหมัก 24 ชั่วโมงอย่างน้อย
- การนวดดิน นำดินเข้าเตรียมนวด และเครื่องนวดก็จะรีดดินออกมา
เป็นท่อนๆ(ในสมัยโบราณการนวดดินจะใช้หนังควายหรือไม้กระดานทับบนเนื้อดินช่างนวดจะใช้เท้าเหยียบไปมาจนกว่าเนื้อดินจะเข้ากัน)
หลังจากนั้นจะรีดดินเป็นท่อนๆขนาดยาวประมาณ 25 – 30 ซม.
กว้างประมาณ 8 ซม. เรียกว่า ล่อ
ซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดของภาชนะที่จะปั้นรดน้ำให้ชุ่มห่อพลาสติกเก็บไว้ 2 วัน (สมัยโบราณใช้ใบตอง กระสอบ ห่อเก็บไว้ในโอ่ง หรือไห)
การขึ้นรูป
เครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นรูป
มีลักษณะเป็นแป้นหมุนวงกลมซึ่งเรียกว่า พะมอน ช่างปั้นและลูกศิษย์ (คนหมุนพะมอน)
จะทำงานร่วมกัน โดยช่างปั้นจะนำ ล่อ
ไล่รูปทรงขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการของขนาดภาชนะในขณะที่ลูกศิษย์จะทำหน้าที่หมุนพะมอนตามจังหวะที่ช่างปั้นต้องการและสัมพันธ์กัน
และตลอดเวลาการขึ้นรูปนั้น
ช่างปั้นจะต้องใช้ผ้าชุบน้ำซับดินที่ขึ้นรูปเพื่อป้องกันดินแห้งโดยตลอดด้วย.
การตกแต่ง
ในสมัยโบราณนั้นมีรูปแบบของลายเพียงลายเดียวเท่านั้น
เรียกว่า ลายตะเกียง โดยใช้ ไม้ขีดลงบนภาชนะ ที่ปั้นในขณะที่พะมอนหมุน
แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่มลวดลายใหม่ตามจินตนาการของช่างปั้น ปัจจุบันแยก ออกเป็น 3 แบบคือ การ การขูด การฉลุ และการปั้นแปะ
โดยการใช้น้ำโคลนของดินชนิดเดียวกัน ซึ่งเรียนกว่า ขี้หวี่
เป็นตัวประสานลายที่ปั้นแปะ
การผึ่ง
นำภาชนะที่ขึ้นรูปเสร็จแล้วไปผึ่งที่โรงผึ่งซึ่งสร้างเป็นโรงหญ้าหลังคาคลุมถึงพื้นป้องกันลม
แดด ฝน พื้นเป็นทรายใช้เวลาผึ่งตามฤดูการ ฤดูแล้ง 15 – 20 วัน ฤดูฝน 30 วัน
การเผา
ในสมัยโบราณ
ชาวบ้านจะขุดเตาบริเวณจอมปลวกลึกลงไปใต้ดินโดยใช้ปากปล่องจอมปลวกเป็นปล่องเตา
เรียกว่า เตาทุเรียง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้เตาเผาซึ่งทำจากอิฐดิบ แต่ยังคง
สภาพลักษณะของเตาเป็นแบบดั้งเดิมอยู่ เพียงแต่มีข้อแตกต่างลักษณะเดียว
คือเตาเผาปัจจุบันอยู่บนผิวดิน การเผาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ แบ่งตามอุณหภูมิของไฟ- ไฟต่ำ หรือชาวบ้านเรียกว่า ลุ่ม
อุณหภูมิประมาณ 0 – 300 องศาเซลเซียส โดยใช้ท่อนไม้ขนาดใหญ่ 3
ท่อน เผาหน้าปากเตาประมาณ 12 ชั่วโมง
- ไฟกลาง หรือชาวบ้านเรียกว่า อุด
อุณหภูมิประมาณ 300 – 900 องศาเซลเซียส โดยใช้ไม้เล็กๆ
เผาต่อบริเวณปากเตาประมาณ 6 ชั่วโมง สังเกตจะเห็นละอองขาวที่ปากปล่อง
- ไฟใหญ่ หรือชาวบ้านเรียกว่า
ลงไฟอุณหภูมิประมาณ 900 – 1,300 องศาเซลเซียส
โดยใช้ไม้เผาภายในเตาประมาณ 6 ชั่วโมง
หัตถกรรมทองเหลือง
|
(ศึกษาค้นคว้าโดย นางสาวสุรินทร สุธรรมมา และคณะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร)
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
หัตถกรรมพื้นบ้าน "อุบลราชธานี"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น